Explore
Also Available in:

ลาก่อนผีเสื้อกลางคืนลายฝุ่นพริกไทย

ตัวอย่างชั้นสูงของทฤษฎีวิวัฒนาการถูกสอยล่วงลงมา

“ ภาพถ่ายปลอม ”

คาร์ล เวียแลนด์ (Carl Wieland)

่องในตำราผีเสื้อกลางคืนลายฝุ่นพริกไทยของอังกฤษที่โด่งดัง ( บิสตัน เบทิวลาเรีย ) ของอังกฤษเขียนไว้ว่าผีเสื้อกลางคืนนี้มีทั้งชนิดสีอ่อนและสีเข้ม ( เมลานิค ) มลพิษจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ลำต้นไม้ดำคลำ้ขึ้น ส่วนมากโดยการฆ่าไลเคนสีอ่อนที่ปกคลุมลำต้น ( รวมถึงเขม่าด้วย )

330-dead-moths-on-trees
ซากผีเสื้อกลางคืนถูกทากาวติดบนต้นไม้, รูปถ่ายจากเอกสารอ้างถึงที่4

ผีเสื้อกลางคืนสีอ่อนกว่าที่เคยอำพรางดีบนพื้นสีอ่อน มาตอนนี้เป็นที่สังเกตได้ชัดขึ้นก็ถูกนกกินง่ายมากขึ้น ดังนั้นจำนวนประชากรของผีเสื้อกลางคืนชนิดสีเข้มจึงเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ต่อมาเมื่อมลพิษถูกกำจัดให้หมดไปผีเสื้อกลางคืนสีอ่อนก็กลับมามีจำนวนมากกว่าอีกครั้ง

ได้มีการจดบันทึกอย่างละเอียดในการเปลี่ยนแปลงจำนวนผีเสื้อกลางคืนที่จับได้โดยใช้กับดักแมลงและจากการทดลองประเภทปล่อยแล้วจับใหม่ ก็ยืนยันว่าในป่าที่มีมลพิษผีเสื้อกลางคืนชนิดสีเข้มเหลือรอดจากการจับซำ้ (recapture) มากกว่า และ ในทางกลับกัน ด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีภาพยนต์ที่ถ่ายไว้แสดงให้เห็นว่านกเลือกกินผีเสื้อกลางคืนที่มีสีแตกต่างจากสีของลำต้นไม้

เรื่องนี้ทำให้เห็นว่าไม่มีอะไรเกี่ยวกันกับแนวคิดวิวัฒนาการที่เชื่อกันนักหนาเลย เฮช . บี . เคทเทิลเวลล์ , ซึงทำการทดลองอันคลาสสิคนี้กล่าวว่าถ้า ดาร์วินใด้เห็นผลการทดลองนี้ " เขาคงจะเป็นประจักษ์พยานในความครบถ้วนและมีเครื่องยืนยันว่างานที่เขาทุ่มเททำทั้งชีวิตนั้น1

แทจริงแล้ว ( ตามที่ประจักษ์ ) เรื่องที่เขียนเป็นตัวอย่างอยู่ในตำรานั้นไม่ได้ เป็น อะไรมากไปกว่า ความกี่ของพันธุกรรม (gene) ที่ เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาที่เกิดขึ้นจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเท่านั้น

มันไม่ได้ให้อะไรมากนักถึงแม้ว่าจะให้เวลานับล้าน ๆ ปีก็ตาม ก็ไม่สามารถเพิ่มเติม อะไรให้กับ ความซับซ้อนของข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิวัฒนาการ จากตัวอะมีบาจนเป็นมนุษย์

แม้แต่ แอล. แฮร์ริสัน แมธธิวส์ นักชีวิทยาที่โดดเด่นคนหนึ่งผู้ได้รับคำเชื้อเชิญให้เขียนคำนำสำหรับหนังสือเรื่อง Origin of Species ของ ดาร์วิน เล่มที่ตีพิมพ์ในปี 1971 กล่าวว่า ตัวอย่างเรื่องผีเสื้อกลางคืนลายฝุ่นพริกไทยในหนังสือนั้นแสดงถึงการคัดเลือกพันธุ์โดยธรรมชาติแต่ไม่ได้แสดงถึง “ ตัวอย่างของการวิวัฒนาการที่เป็นจริง ”

อย่างไรก็ตาม , กลับกลายเป็นว่า ตัวอย่างที่ถือเป็นแบบฉบับนี้ เต็มไปด้วยช่องโหว่มากมาย ผีเสื้อกลางคืนลายฝุ่นพริกไทยไม่เคยเกาะพักบนลำต้นไม้ในตอนกลางวันซักหน่อย

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซิเรล คลาก สำรวจผีเสื้อลายฝุ่นพริกไทยอยู่ 25 ปี พบแค่สองตัวเท่านั้นในถิ่นธรรมชาติของมัน เอง ในตอนกลางวัน — สวนนักวิจัยคนอื่น ๆ นั้นก็ไม่ได้เห็นซักตัวเลย แค่ทเทิลล์เวลล์และคนอื่น ๆ ล่อผีเสื้อกลางคืนเข้าไปในกับดักแมลงในป่าโดยใช้ไฟ หรือ โดยปล่อยสารที่มีกลิ่นคล้ายแมลงตัวเมีย ล่อ — ในทั้งสองกรณีนั้นพบว่า มันบินออกมาแค่ในเวลากลางคืน แล้วมันจึงอยู่ที่ไหนในตอนกลางวัน คลาก เขียนว่า

‘ ล่าสุดที่สันนิษฐานคือมันเกาะพักบนใบไม้บนยอดของต้นไม้แต่ไม่มีใคร้รู้คำตอบแน่นอน มันแอบเก่ง ’2

ผีเสื้อกลางคืนที่ถ่ายภาพยนตร์มาที่ถูกนกกินนั้นเป็นผีเสื้อกลางคืนที่เพาะเลี้องอยู่ในห้องทดลองและถูกวางใว้บนลำต้นไม้โดย แค่ทเทิลล์เวลล์ มันอ่อนเปลี้ยมากถึง กับครังหนึ่งเขาต้องเอามันวางบนกระโปรงรถยนต์ เขาเพื่อให้มันอบอุ่นขึ้น3

และรูปถ่ายผีเสื้อกลางคืนบนลำต้นไม้เหล่านั้นล่ะ ? ฉบับ วารสารหนึ่ง อธิบาย ว่ามันทำอย่างไร — ซากผีเสื้อกลางคืนถูกทากาวแล้วนำมาติดบนต้นไม้4 นักชีววิทยาของมหาวิทยาลัยแมซซ่าชูเสธส์ ทีโอดอร์ ซาร์เจนท์ เป็นคนช่วย ทากาวผีเสื้อกลางคืนแล้วติดบนต้นไม้ สำหรับถ่ายทำสารคดีให้กับ NOVA เขาบอกว่าตำราและภาพยนต์ที่ทำขึ้นนี้ ใช้ ‘ ภาพถ่ายปลอมเป็นจำนวนมาก ’5,6

รายงานวิจัยอื่น ๆ ก็แสดงความสัมพันธ์กันน้อยมากระหว่างไลเคนที่ปกคลุมต้นไม้กับจำนวนประชากรผีเสื้อกลางคืนที่ศึกษา แล้วเมื่อพวกนักวิจัยกลุ่มหนึ่งทากาวผีเสื้อติดบนต้นไม้ในป่าที่ไม่มีมลพิษ นกก็เลือกกินผีเสื้อกลางคืนสีเข้ม ( อำพรางน้อย ) มากกว่าตามที่คาดไว้ แต่ในกับดักเขาจับได้จำนวนตัวสีเข้มมากเป็นสี่เท่าของจำนวนตัวสีอ่อน ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ พยากรณ์ไว้ในตำรา7

นักชีววิทยา เจอร์รี่ คอยน์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก เห็นพ้องว่าเรื่องผีเสื้อกลางคืนลายฝุ่นพริกไทยที่เคยเป็น ' ม้าแข่งชนะเลิศในคอก ' ถึงเวลาที่ต้องโยนทิ้งไป ได้แล้ว

เขาบอกว่าความตระหนักในข้อเทิ่จจริงนี้ให้เขามีความรู้สึกเหมือนกันกับเมื่อเขาซู้ความจริงว่าซานต้าค้ลอส์ ไม่ใช่เรื่องจริง5

น่าเสียใจว่ามีนักเรียนหลายร้อยล้านคนได้ถูกปลูกฝังความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ ข้อหลักฐาน ’ ที่เต็มด้วยปริศนาข้อผิษพลาด ข้อมูลปลอมและข้อมูล ครึ่งจริงครึ่งเท็จ8

เอกสารอ้างถึง

  1. H. Kettlewell (1959), ‘Darwin’s missing evidence’ in Evolution and the fossil record, readings from Scientific American, W.H. Freeman and Co., San Francisco, 1978, p.23. กลับไปความเดิม.
  2. C.A. Clarke, ‘Evolution in reverse: clean air and the peppered moth’, Biological Journal of the Linnean Society 26:189–199, 1985. กลับไปความเดิม.
  3. Calgary Herald, March 21, 1999, p. D3. กลับไปความเดิม.
  4. D.R. Lees & E.R. Creed, ‘Industrial melanism in Biston betularia: the role of selective predation’, Journal of Animal Ecology 44:67–83,1975. กลับไปความเดิม.
  5. J.A. Coyne, Nature 396(6706):35–36. กลับไปความเดิม.
  6. The Washington Times, January 17, 1999, p. D8 กลับไปความเดิม.
  7. D.R. Lees & E.R. Creed, ref. 4. กลับไปความเดิม.
  8. Unfettered by evolutionary ‘just so’ stories, researchers can now look for the real causes of these population shifts. Might the dark form actually have a function, like absorbing more warmth? Could it reflect the conditions in the caterpillar stage? In a different nocturnal moth species, Sargent has found that plants eaten by the larvae may induce or repress the expression of such ‘melanism’ in adult moths (see Sargent T.R. et al. in M.K. Hecht et al., Evolutionary Biology 30:299–322, Plenum Press, New York, 1998) กลับไปความเดิม.